วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปงานวิจัย


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
สรุปงานวิจัย
พัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้วิจัย  นางนิธิกานต์  ขวัญบุญ
หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา หลักสูตรและการนิเทศ   ภาควิชา หลักสูตรและวิธีการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศิลปกร  ปีการศึกษา 2549

เรื่อง การแทนค่าจำนวนนับ 1-10 สำหรับเด็กปฐมวัย 

วัตถุประสงค์การวิจัย
1.เพื่อศึกษาข้อมูลในการสร้างชุดเกมการศึกษา เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3ให้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 80/80 
2.เพื่อพัฒนาเกมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
3.ทดลองการใช้เกมการศึกษา
4.ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

ใช้ตัวอย่างกลุ่มงานวิจัยจาก   นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 25 คน โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร  โดยทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 เริ่มทดลอง ตั้งแต่วันที่1-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ระยะเวลา 3 สัปดาห์ จำนวน 24 คาบ

แผนการจัดการสอน
แผนการจัดประสบการณ์การเรียรู้แผนที่ 1 หน่วยฝนจ๋า (เกมใจเราตรงกัน)/จำนวน 4 คาบ 
แผนการจัดประสบการณ์การเรียรู้แผนที่ 2 หน่วยผักสด (เกมเรียงต่อแสนสนุก)/จำนวน 4 คาบ 
แผนการจัดประสบการณ์การเรียรู้แผนที่ 3 หน่วยผลไม้ (เกมรักกันนะ)/จำนวน 4 คาบ 
แผนการจัดประสบการณ์การเรียรู้แผนที่ 4 หน่วยสัตว์บก (เกมพาเหรดตัวเลข)/จำนวน 4 คาบ 
แผนการจัดประสบการณ์การเรียรู้แผนที่ 5 หน่วยสัตว์น้ำ (เกมทะเลพาเพลิน)/จำนวน 4 คาบ 
แผนการจัดประสบการณ์การเรียรู้แผนที่ 6 หน่วยของใช้ (เกมของใช้อลแวง)/จำนวน 4 คาบ 

ขั้นตอนการทดลองใช้เกมการศึกษา ทำอย่างไร?
1.ทางผู้วิจัย ทำเรื่องเพื่อขอความอนุเคราะห์จากทางผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี ในการใช้การทดลองเกมการศึกษาที่พัฒนาขึ้น
2.ทำการทดสอบก่อนเรียน กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3 จำนวน 25 คน โดยแบบแบบทดสอบวัดความพร้อม
3.ทดลองใช้เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแทนค่าจำนวนนับ 1-10
ขั้นนำ
- ผู้วิจัยหรือคุณครูปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 แนะนำการใช้เกมการศึกษา
- ชี้แจงวัตถุประสงค์
- ชี้แจงวิธีการเล่นเกมการศึกษา
- แนะนำสิ่งที่นักเรียนจะได้รับหลังปฎิบัติกิจกรรม
ขั้นปฎิบัติกิจกรรม
- นักเรียนปฎิบัติกิจกรรม ตามกฎกติกาของเกมการศึกษาและขั้นตอนต่างๆในแผนการจัดประสบการณ์การเรียรู้
ขั้นสรุป
- นักเรียนนำสิ่งที่ได้จากการปฎิบัติกิจกรรม นำมาเสนอแลกเปลี่ยนความคิดหน้าชั้นเรียน
4.หลังจากที่ทำการทดลองใช้เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เสร็จแล้ว จึงทำการทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนแล้วตรวจให้คะแนน คะแนนเต็ม 20 คะแนน
5. นำคะแนนที่ได้ไปหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังจากนั้นดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียรู้เป็นเวลา 3สัปดาห์  สัปดาห์ละ 8 คาบ คาบละ 15 นาที จำนวน 24 คาบเมื่อเสร็จสิ้นการสอนให้เด็กทำแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นในนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนโดยใช้เกมการศึกษาทดสอบทางคณิตศาสตร์หลังเรียน แล้วตรวจผลการทำแบบทดสอบเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ แล้วนำคะแนนมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน

สรุปผล
1.นักเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาเกมการศึกษาืโดยมีรูปแบบเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ภาพสีสันสวยงาม
2.เกมการศึกษาที่สร้างขึ้นต้องประกอบด้วย คำนำ วัตถุประสงค์ คู่มือครู แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คู่มือนักเรียน แบบทดสอบ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวเลข 1-10 เกมการศึกษามีประสิทธิภาพ 82.73 / 85.60 สูงกว่าเกฑณ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3.การทดลองใช้เกมการศึกษา โดยให้เรียนรู้กันเป็นกลุ่ม ขณะเรียนนักเรียนมีควมกระตือรือร้น ตั้งใจเรียนและสนุกสนานกับการทำกิจกรรม
4.นักเรียนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ผลการเรียนด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้เกมการศึกษามีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น